ความหมาย “เมาลา” ในฮะดิษฆอดีรคุมม์

ความหมาย “เมาลา” ในเหตุการณ์ฆอดีรคุมม์

พวกที่ใช้เหตุผลอย่างมีเล่เหลี่ยมบางคนได้ใช้วิธีการพูดตลบตะแลงกับคำว่า “เมาลา” ดังที่ท่านศาสดา ศ. ได้ใช้ เมื่อท่านกล่าวว่า “อะลี เป็น เมาลา ของบรรดาชายและผู้หญิงเหล่านั้นทั้งหมด ที่พวกเขามีฉันเป็น เมาลา” ซึ่งพวกเขายอมรับการประกาศนี้ว่าเป็นของจริงแท้ แต่พวกเขากลับไม่ได้ตีความคำว่า “เมาลา” ให้แปลว่า “นาย” แต่ให้หมายถึง “เพื่อน” !!!!

เหตุผลที่ “เมาลา” ในฮะดิษฆอดีรคุมม์ ไม่สามารถให้ความหมายเป็นอื่นได้นอกจาก “นาย” นั้นก็เพราะว่า

  • หากให้ความหมาย “เมาลา” ว่า “เพื่อน” ย่อมไม่สอดคลอดกับสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นในวันนั้น

เราเชื่อว่า หากตีความคำว่า “เมาลา” ให้แปลว่า “เพื่อน” สิ่งนี้ไม่ได้เป็นเจตนาของตัวท่านศาสดาเองเลย การที่ท่านให้เรียกกองคาราวานทั้งหมดกลับมา และมีคำสั่งให้พวกเขารวมตัวกันในสถานที่ๆปราศจากร่มเงา ณ ที่ราบแห่งฆอดีรคุมม์ เป็นเพียงเพื่อที่จะบอกวกล่าวกับพวกเขาว่า อะลี เป็นเพื่อนของพวกเขาเท่านั้นหรือ ?!!!
บรรดาผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ในขณะนั้นได้เสแสร้งแกล้งไม่รู้กันหรืออย่างไรว่า อะลี ไม่ได้เป็นเพื่อนของพวกเขา และท่านศาสาดา ศ. จึงต้องให้คำมั่นกับพวกเขาว่า เขา(อะลี)นั้นเป็นเพื่อนของพวกเขาจริง ๆ

  • หากตีความคำว่า “เมาลา” ให้แปลว่า “เพื่อน” สิ่งนี้ไม่ได้เป็นเจตนาของตัวท่านศาสดา ศ.

ผู้คนที่ให้ความหมายของคำว่า “เมาลา” ว่าเป็น “เพื่อน” อาจลืมไปว่า ท่านศาสดาได้ใช้มัน เพื่ออ้างอิงไปถึงตัวท่านด้วย ก่อนที่ท่านจะใช้มันอ้างอิงไปถึงอิมามอะลี อ. โดยท่านกล่าวกับฝูงชนว่า

ألَسْتُ أوْلَى بِكُمْ مِنْ أنْفُسِكُمْ
ฉันมีสิทธิ์ต่อตัวของพวกเจ้า มากกว่าตัวของพวกเจ้ามีต่อตนเองหรือไม่ ?

และสิ่งนี้สามารถที่จะยอมรับได้ว่า การให้คำอรรถาธบายที่ถูกต้องนั้นมีอยู่เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นคือ ถ้าหากมุฮัมมัด ศ. ผู้เป็นสาสนทูตเป็นนายของมุสลิมทั้งมวล อะลี ก็ย่อมเป็นนายของพวกเขาด้วยเช่นกัน

พวกร้อยลิ้นกะลาวนเหล่านั้นหลงลืมไปเช่นกันว่า ก่อนที่จะทำการประกาศให้ อะลี เป็นผู้สืบแทนตำแหน่งของท่าน และเป็นผู้ทรงอำนานเหนือมวลมุสลิม ท่านศาสดาได้ถามพวกเขาดังคำถามข้างต้น ที่ว่า

يا أيُّها الناسُ، ألستم تَشهَدونَ أنَّ اللهَ عزَّ وجلَّ ربُّكم ؟ قالوا: بَلى، قال: ألستم تَشهَدونَ أنَّ اللهَ ورسولَه أَوْلى بكم من أنفُسِكم، وأنَّ اللهَ عزَّ وجلَّ ورسولَه مَوْلَياكم؟، قالوا: بَلى

โอ้ มวลมนุษย์เอ๋ย พวกท่านจะยืนยันหรือไม่ว่า แท้จริงอัลลอฮ์ผู้ทรงสูงส่งคือองค์อภิบาลของพวกเจ้า ? พวกเขากล่าวตอบว่า “ใช่แล้ว” (ต่อมาท่านศาสนทูต)ก็กล่าวว่า พวกท่านจะยืนยันไม่ว่า ฉันมีสิทธิ์ต่อตัวของพวกเจ้า มากกว่าตัวของพวกเจ้ามีต่อตนเองหรือไม่ ? และแท้จริงอัลลอฮ์ และศาสนทูตของพระองค์คือ เมาลา(นาย)ของพวกเจ้า ?[1]

คำตอบของบรรดามุสลิม ต่อคำถามนี้ถึงแม้จะตอบว่า “ใช่ท่านมี” แต่ก็ยังไม่ถือว่าเป็นที่รับรองได้ คำถามนี้ เป็นคำถามนำก่อนการประกาศของท่านศาสดาที่ให้อิมามอะลี อ. เป็นผู้สืบแทนตำแหน่งของท่าน คำถามและการประกาศนั้นจึงเป็นส่วนของเนื้อหาอันเดียวกัน และถ้าหากอ่านรวมกันไป มันก็จะไม่ทิ้งความสงสัยใด ๆไว้ให้เหลืออยู่ในจิตใจของผู้อ่าน ดังคำว่า “เมาลา” ย่อมหมายถึง “นาย” แต่ไม่ใช่ “เพื่อน” อย่างแน่นอน

  • มีอยู่สิ่งเดียวอันเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ที่ท่านศาสดา ศ. ยังไม่ได้กระทำจนถึงวันฆอดีรคุมม์ ก็คือ การแนะนำผู้สืบตำแหน่งของท่านเองอย่างเป็นทางการให้กับประชาชาติอิสลามได้รับรู้

ณ ที่นี้ ควรจะได้ชี้แจงเสียก่อนเช่นกันว่า ก่อนที่จะมีการประทานโองการ ตับลีฆ(5:67) บัญญัติต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ ชะรีอะฮ์(ข้อกำหนดของศาสนาอิสลาม) เช่นการนมาซประจำวัน การถือศีลอด ซะกาต(ภาษีคนจน) ฮัจญ์ และการญิฮาด ซึ่งจริงๆแล้ว กฏเกณฑ์ทั้งหมดสำหรับชีวิตส่วนตัว สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของบรรดามุสลิมนั้นได้ถูกประทานให้กับศาสดามุฮัมมัดแล้ว ท่าน ศ. ได้ประกาศและมุสลิมได้ปฎิบัติจนกลายเป็นส่วนของชีวิตของพวกเขาที่ครบถ้วนแล้ว ท่านได้แนะนำและปฎิบัติกฏหมายทุกข้อให้เห็นแล้ว

มีอยู่สิ่งเดียวที่ท่านศาสดา ศ. ยังไม่ได้กระทำจนถึงยัดนั้น ก็คือการแนะนำผู้สืบตำแหน่งของท่านเองอย่างเป็นทางการให้กับ อุมมะฮ์ ประชาชาติของท่าน อุมมะฮ์ นั้นย่อมมีสิทธิ์ที่จะได้รู้ว่าใครคือผู้ที่จะมาเป็นผู้ปกครองของพวกเขา ภายหลังจากากรเสียชีวิตของท่านศาสดา ศ. นี้คือสิ่งที่ท่านได้กระทำ เมื่อท่านได้ถูกบัญชามาให้ “ประกาศาส์นนั้น” ดังที่ปรากฏอยู่ในซูเราะห์อัล-มาอิดะฮ์ โองการที่ 67 ว่า :

يَا أَيُّهَا الرَّسُولُ بَلِّغْ مَا أُنزِلَ إِلَيْكَ مِن رَّبِّكَ ۖ وَإِن لَّمْ تَفْعَلْ فَمَا بَلَّغْتَ رِسَالَتَهُ ۚ وَاللَّهُ يَعْصِمُكَ مِنَ النَّاسِ ۗ إِنَّ اللَّهَ لَا يَهْدِي الْقَوْمَ الْكَافِرِينَ

โอ้ศาสนทูต จงประกาศสิ่งที่ได้ถูกประทานลงมายังเจ้า จากองค์พระผู้อภิลาลองเจ้า หากเจ้าไม่กระทำ ก็เท่ากับว่าเจ้าไม่เคยเผยแพร่สารธรรมของพาะองค์มาเลย อัลลอฮ์จะทรงปกป้องเจ้าจากมวลมนุษย์ แท้จริงอัลลอฮ์จะไม่ทรงชี้นำกลุ่มชนผุ้ปฎิเสธ

แต่ทันทีที่ท่านศาสดาได้จัดการให้เป็นไปตามพระบัญชาแห่งเบื้องยน ด้วยกับความกระจ่างชัดอย่างเต็มที่ และเป็นสิ่งสุดท้ายอย่างแท้จริง โองการ “อิกมาลุดดีน” จึงถูกประทานลงมา ว่า

اَلْیوْمَ أَکمَلْتُ لَکمْ دینَکمْ وَ أَتْمَمْتُ عَلَیکُمْ نِعْمَتی وَ رَضیتُ لَکُمُ الْإِسْلامَ دیناً

วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์เพื่อพวกเจ้าแล้ว ข้าได้ทำให้ความโปรดปรานของข้าบริบูรณ์แก่พวกเจ้า และข้าพึงพอใจให้อิสลามเป็นสานาของพวกเจ้า

การถูกประทานลงมาของโองการ “อิกมาลุดดีน” เป็นการตีตราประทับรับรองในการปฎิบัติภารกิจของท่านศาสดา ศ.

ด้วยการสถาปนาการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการของ อะลี บุตรแห่ง อบูฎอลิบ ให้เป็นผู้สืบแทนตำแหน่งของท่านศาสดามุฮัมมัด ศ. และให้เป็นหัวหน้าของมวลมุสลิม ซึ่งโองการสุดท้ายที่ถูกประทานลงมานี้ได้ถูกบันทึกไว้ในคัมภีร์ของพระเจ้า

โองการสุดท้ายของคัภีร์ของพระเจ้าได้ถูกประทานลงมาและได้ถูกบันทึกไว้ในวันที่ 18 ซุลฮิจญะฮ์ ฮ.ศ. 10 (เดือนมีนาคม ค.ศ. 632) ท่านศาสดามุฮัมมัด ศ. ได้มาถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต และอำลาประชาชาติของท่านไปสู่ความเมตตาแห่งองค์อภิบาล ไม่มีการบันทึกไว้ ณ ี่ใดว่า ท่านได้นำคำบัญชาหรือข้อห้าม ความเชื่อ หรือการปฏิบัติใหม่ใดๆมาให้กับ อุมมะฮ์ ของท่าน ในช่วงแปดสิบวันดังกล่าวนี้ อิสลามได้ถูกประกาศให้มีความเรียบร้อยและสมบูรณ์ในทันทีที่ท่านศาสดาได้ทำการแต่งตั้ง ท่านอิมามอะลี อ. ให้เป็นผู้สืบแทนตำแหน่งของท่าน

  • บุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์ในวันฆอดีรคุมม์ (18 ซูลฮิจญะฮ์) ไม่มีผู้ใดเข้าใจความหมาย “เมาลา” เป็นอื่นเลย นอกจากความหมาย “นาย”

เมื่อเราเข้าไปศึกษาประวัติศาสตร์ในช่วงวันที่ 18 ซุลฮิจญะฮ์ ก็ประจักษ์ว่า ผู้คนเรือนแสนที่อยู่ในเหตุการณ์ฆอดีรคุมม์ ไม่มีใครสักคนที่ตีความคำว่า “เมาลา” ให้แปลว่า “เพื่อน” แต่ทุกคนเข้าใจตรงกันว่า ท่านศาสดามุฮัมมัด ศ. กำลังประกาศว่า “ท่านอิมามอะลี อ. คือผู้สืบทอดตำแหน่งของท่าน” ตัวอย่างของเรื่องนี้จะเห็นได้จากสิ่งที่นักประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้เช่นนี้

  1. บทกวีของ อัซซาน บิน ษาบิต อัล-อันซอรีย์

อัซซาน บิน ษาบิต เป็นนักกวีประจำสำนักของท่านศาสดามุฮัมมัด ศ. และเขาเป็นนักแต่งร้อยกรองเหตุการณ์ต่างๆที่สำคัญๆทั้งหมดที่เกิดขึ้น การแต่งตั้งท่านอิมามอะลี นับเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุดเหตการณ์หนึ่งที่ท้าทายต่อความสามารถในกวีของเขา เขาได้แต่งบทสรรเสริญบทหนึ่งเนื่องในโองกาสนี้ ซึ่งเขาได้อุทิศมันให้กับอิมามอะลี อ. ดังนี้(คำแปลคร่าวๆของบทกลอน อัซซาน บิน ษาบิต)

ณ วันแห่งฆอดีรคุมม์ ท่านศาสดาจัดชุมนุม มวลมุสลิมต่างล้อมรุมอยู่รอบท่าน บัดนั้นท่านได้กล่าวว นี้คือเรื่องราวที่ฉันได้ยินมา

ใครคือ พระผู้อภิบาลของเจ้า และใครคือเจ้านายของพวกเจ้า ? พวกเขทั้งหมด ต่างตอบสดๆ เป็นเสียงเดียวกัน อัลลอฮ์ นั้นไซร้ คือพระเจ้าของเรา และท่านนั้นเล่า คือ ผู้เป็นนายของเรา และหามีใครไม่ ที่กล้าเฉไฉ ฝ่าฝืนต่อท่าน

อะลี ยืนขึ้นตามคำสั่งของท่าน เมื่อเขาลุกขึ้น ท่านจับมือเขา และจึงกล่าวว่า “ฉันเลือกเจ้ามา ให้เป็นผู้นำ ภายหลังจากฉัน เมื่อเ้นดังน้ืน ผู้ใดยึดฉัน ไว้เป็นนายของเขา อะลี นั้นไซร้ก็เป็นนายของเขาเช่นกัน

จากนั้นท่านศาสดาจึงกล่าวภาวนา “โอ้ พระเจ้าข้า ขอพระองค์ทรงเป็นมิต กับผู้ใกล้ชิดที่เป็นมิตรของอะลี และขอพระองค์ทรงเป็นศัตรู กับมวลหมู่ผู้ที่เป็นศัตรูของอะลี[2]

เป็นที่ประจักษ์ว่า ฮัซซาน บิน ษาบิต ได้แทนที่คำว่า เมาลา ในคำพูดของท่านศาสดา ศ. ด้วยคำที่มีความหมายใกล้เคียงที่สุดคือ อิมาม หรือผู้นำ ในขณะที่ ฮัซซานคือผู้เชี่ยวชาญภาษาอาหรับและเป็นนักกวีย่อมมีการใช้ภาษาได้ดีกว่าคนอื่น กล่าวคือ อัซซาน บิน ษาบิต ได้ให้นิยาม และคำจำความของเมาลา ในวจนะของท่านนบี ศ. ว่า “นาย” หรือ ผู้ปกครอง” ซึ่งโวหารที่ ฮัซซาน บิน ษาบิต ได้ใช้ในวันนั้นได้แทนที่คำว่า เมาลา ด้วยคำว่า อิมาม นั้นหมายถึง ผู้นำ ผู้ปกครอง โดยใช้สำนวนว่า

قُمْ يَا عَلِيُّ فَإِنَّنِي رَضِيتُكَ مِنْ بَعْدِي إِمَاماً وَ هَادِياً

“ลุกขึ้นเถิดโอ้อะลี ฉันได้เลือกเจ้าให็เป็นอิมามและผู้ชี้นำทางประชาชาชติหลังจากฉันแล้ว”

2. บทกวีของ กอยซ์ อิบนุ อุบาดะฮ์

ยังมีกวีอีกคนหนึ่งที่แต่งกลอนเนื่องในโอกาสของการแต่งตั้งท่านอิมามอะลี อ. คือ กอยซ์ อิบนุ อุบาดะฮ์ เขาพรรณาไว้ว่า โดยมีใจความว่า : อะลี ผู้เป็นนาย ของฝ่ายเรา และอีกทั้งตัวของเขา ก็เป็นนายของผู้ศรัทธา ที่ต้องยึดถือ ซึ่งมีปรากฏอยู่ใน อัลกุรอ่าน นับแต่วันที่ท่านศาสนทูตแห่งพระเจ้า ได้เคยกล่าวไว้ว่า “ผู้ใดที่มีฉัน เป็นนายของเข อะลีนั้นไซร้ ก้เป็นนายของเขาเช่นกัน”

وَ عَلِيٌّ إِمامُنا وَ إِمامٌ لِسِوانا، أَتى بِهِ التَّنْزيلُ

يَوْمَ قالَ النَّبِيُّ: مَنْ كُنْتُ مَوْلا هُ، فَهَذا مَوْلاهُ، خَطْبٌ جَليلُ

3. บทกวีของ อัมร์ อิบนุ อัล อาส

มันเป็นสิ่งที่น่าประหลาดใจและที่เหลือเชื่อที่สุด ซึ่งคนอย่าง อัมร อิบนุ อัล อาส ยังได้รับแรงบันดาลใจที่ได้แต่งกลอนอุทิศให้กับอิมามอะลี อ. ที่ฆอดีรคุมม์เป็นร้อยกรองบทละสองบรรดทัด ดังมีเนื้อหาต่อไปนี้

แสงดาบของอะลี ที่ฟาดฟัน ดุจเดียวกันกับสัตยาบัน ที่ทุกคนกล่าวรับ ณ ที่ราบแห่งฆอดีรคุมม์ ซึ่งทุกๆคนล้วนเพ่งพิศ ต่างประชิดโค้งคำนับ ยอมรับในอำนาจของเขา[3]

  • ท่านอิมามอะลี อ. อ้างสิทธิ์การเป็นผู้นำของท่านด้วยกับฮะดิษฆอดีรคุมม์

ท่านอิมามอะลี อ. ได้เขียน ส่งสาสน์ถึงมุอาวียะฮ์ บุตร อบูซุฟยาน เมื่อเขาเลือกที่จะไม่มอบสัตยาบันต่อท่าน โดยท่านได้อ้างสิทธิ์นี้ว่า ท่านนบี ศ. ได้แต่งต้้งท่านไว้แล้วในวันฆอดีรคุมม์ สาส์นฉบับนี้มีใจความว่า

أمير المؤمنين عليه السّلام، حيث كتب إلى معاوية في جواب كتاب له من أبياتٍ ما نصّه

وَأَوْجَبَ لي وِلايَتَهُ عَلَيْكُمْ
رَسولُ اللهِ يَوْمَ غَديرِ خُمِّ

ท่านศาสดา ศ. ได้มอบวิลายะฮ์ของท่านแก่ฉันให้เป็นวาญิบสำหรับเจ้าในวันเฆาะดีรคุม[4]

และแน่นอนว่า ในอิสลามนอกจากท่านศาสดา ศ. ยังจะมีใครมีความรู้สูงกว่าท่านอิมามอะลี อ. และยังจะมีผู้ใดสามารถอธิบายฮะดีษของท่านศาสดาได้ดีไปกว่าอิมาม อ. อีกเล่า ฉะนั้น จะเห็นว่าในวันเฆาะดีรคุมท่านศาสดา ศ. ได้ให้ความหมายคำว่า เมาลา ไว้อย่างชัดเจนว่าหมายถึง ผู้นำ หรือ อิมาม ซึ่งเป็นที่รับทราบและไม่มีผู้ใดคัดค้านแม้แต่คนเดียว

——————–

แหล่งอ้างอิง

[1]- ตัวบทฮะดิษ

أنَّ النَّبيَّ صلَّى اللهُ عليه وسلَّمَ حَضَرَ الشَّجَرةَ بخُمٍّ، فخَرَجَ آخِذًا بيَدِ عليٍّ، فقال: يا أيُّها الناسُ، ألستم تَشهَدونَ أنَّ اللهَ عزَّ وجلَّ ربُّكم؟ قالوا: بَلى، قال: ألستم تَشهَدونَ أنَّ اللهَ ورسولَه أَوْلى بكم من أنفُسِكم، وأنَّ اللهَ عزَّ وجلَّ ورسولَه مَوْلَياكم؟، قالوا: بَلى، قال: فمَن كنتُ مَوْلاهُ، فإنَّ هذا مَوْلاهُ، أو قال: فإنَّ عليًّا مَوْلاهُ -شكَّ ابنُ مَرْزوقٍ– إنِّي قد تَرَكتُ فيكم ما إنْ أخَذتُم به لن تَضِلُّوا: كِتابَ اللهِ سَبَبُه بأَيْديكم، وأهلَ بَيتي

الراوي : علي بن أبي طالب | المحدث : شعيب الأرناؤوط | المصدر : تخريج مشكل الآثار الصفحة أو الرقم : 1760 | خلاصة حكم المحدث : إسناده حسن

[2]- ตัวบทฮะดิษ

أبو هارون ، عن أبي سعيد الخدريّ رضى اللّه عنه، قال: لمّا رجع رسول اللّه صلّى اللّه عليه و آله من أمر بما كانت تحت الشجر فقمّ، و كان ذلك يوم الجمعة ، ثمّ أخذ بيد عليّ عليه السّلام فرفعها حتّى نظروا الناس إلى بياض إبطيهما، و قال: «يا أيّها الناس، من كنت مولاه فعليّ مولاه، اللّهمّ وال من والاه، و عاد من عاداه، و انصر من نصره، و اخذل من خذله، و أدر الحقّ معه كيفما دار»، قال: فنزل قوله تعالى: (اَلْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَ أَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَ رَضِيتُ لَكُمُ اَلْإِسْلاٰمَ دِيناً) ، فقال رسول اللّه صلّى اللّه عليه و آله : «اللّه أكبر، عليّ بن أبي طالب : كمال الدين، و تمام النعمة؛ و رضا الربّ برسالتي، و الولاية لعليّ بن أبي طالب من بعدي»، فقال حسّان بن ثابت الأنصاريّ : أ تأذن لي يا رسول اللّه أن أقول في ذلك شعرا ؟ فقال النبيّ صلّى اللّه عليه و آله : «قل على بركة اللّه تعالى»، فقال حسّان اسمعوا قول

يُنَادِيهِمْ يَوْمَ اَلْغَدِيرِ نَبِيُّهُمْ بِخُمٍّ وَ أَسْمِعْ بِالنَّبِيِّ مُنَادِياً

أَلَسْتُ أَنَا مَوْلاَكُمْ وَ وَلِيَّكُمْ فَقَالُوا وَ لَمْ يَبْدُوا هُنَاكَ اَلتَّعَامِيَا

إِلَهُكَ مَوْلاَنَا وَ أَنْتَ وَلِيُّنَا وَ لاَ تَجِدَنْ فِي اَلْخَلْقِ لِلْأَمْرِ عَاصِياً

فَقَالَ لَهُ قُمْ يَا عَلِيُّ فَإِنَّنِي رَضِيتُكَ مِنْ بَعْدِي إِمَاماً وَ هَادِياً

هنالك، قال : اللّٰهمّ وال من والاه، و عاد من عاداه، و انصر من نصره و اخذل من خذله

[3]- ตัวบท

ومنهم: عمرو بن العاصي (العاص) الصّحابيّ القائل

وَكَمْ قَدْ سَمِعْنا مِنَ المُصْطَفى وَصايا مُخَصَّصَةً في عَلِي
وَفي يَوْمِ خُمٍّ رَقَى مِنْبَراً وَبَلَّغَ وَالصَّحْبُ لَمْ تَرْحَلِ
فَأَمْنَحهُ إِمْرَةَ المُؤْمِنينَ مِنَ اللهِ مُسْتَخْلَفُ المنحلِ
وَفي كَفِّهِ كَفُّهُ مُعْلِناً يُنادِي بِأَمْرِ العَزِيزِ العَلِي
وَقالَ: فَمَنْ كُنْتُ مَوْلًى لَهُ عَلِيٌّ لَهُ اليَوْمَ نِعْمَ الوَلِي

[4]- ตัวบทฮะดิษ

فِي قَوْلِهِ عَلَيْهِ اَلسَّلاَمُ

مُحَمَّدٌ اَلنَّبِيُّ أَخِي وَ صِنْوِي وَ حَمْزَةُ سَيِّدُ اَلشُّهَدَاءِ عَمِّي

وَ جَعْفَرٌ اَلَّذِي يُضْحِي وَ يُمْسِي يَطِيرُ مَعَ اَلْمَلاَئِكَةِ اِبْنُ أُمِّي

وَ بِنْتُ مُحَمَّدٍ سَكَنِي وَ عِرْسِي مُسَاطٌ لَحْمُهَا بِدَمِي وَ لَحْمِي

وَ سِبْطَا أَحْمَدَ وَلَدَايَ مِنْهَا فَمَنْ فِيكُمْ لَهُ سَهْمٌ كَسَهْمِي

سَبَقْتُكُمْ إِلَى اَلْإِسْلاَمِ طُرّاً عَلَى مَا كَانَ مِنْ عِلْمِي وَ فَهْمِي

وَ أَوْجَبَ لِيَ اَلْوَلاَءَ مَعاً عَلَيْكُمْ خَلِيلِي يَوْمَ دَوْحِ غَدِيرِ خُمٍّ

هوية الحديث : ۲۴۳۰۹۴ | تخريج : بحار الأنوار الجامعة لدرر أخبار الأئمة الأطهار علیهم السلام , الجزء۳۸ , الصفحة۲۸۵

Share This:

Leave Your Comments

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *